พระพุทธมหาสุวรรณปฎิมากร (หลวงพ่อทองคำ)

พระพุทธมหาสุวรรณปฎิมากร (หลวงพ่อทองคำ) ประดิษฐานอยู่ที่พระมหามณฑป วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปทองคำซึ่งมีประวัติดังต่อไปนี้.

พระมหามณฑป

พระมหามณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธมหาสุวรรณปฎิมากร(หลวงพ่อทองคำ)

ท่ามกลางกระแสธารแห่งอารยธรรมตั้งแต่อดี่ตจวบปัจจุบัน ปรากฎร่องรอยหลักฐานความเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมาอย่างไม่ขาดสาย มรดกทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม สะท้อนให้เห็นความรุ่งโรจน์แห่งอารยธรรมไทยแต่ครั้งโบราณกาล ดังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสือ "เที่ยวเมืองพระร่วง"ซึ่งทรงตรวจสอบค้นคว้าด้านโบราณคดีเกี่ยวกับ "สุโขทัย" ความว่า

"ชาติไทยเรา ไม่ใช่ชาติใหม่ และไม่ใช่ชาติที่เป็นคนป่า หรือที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า "อันซิวิไลซ์" ชาติไทยเราได้เจริญรุ่งเรืองมามากแล้ว เพราะฉะนั้น ควรที่จะรู้สึกอายแก่ใจว่าในกาลปัจจุบันนี้อย่าว่าแต่จะสู้ผู้อื่นแม้แต่จะสู้คนที่เป็นต้นโคตรของเราเองก็ไม่ได้ฝีมือช่างหรือความอุตสาหะของคนครั้งพระร่วงดีกว่าคนสมัยนี้ปานได ถ้าอ่านหนังสือนี้แล้ว บางทีพอรู้สึกหรือเดาได้บ้างไม่มากก็น้อย ถ้าอ่านแล้ว คงจะเห็นความเพียรของคนเราเพียงไร"

พระราชนิพนธ์ชิ้นนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความงดงามรุ่งเรืองในอดีตโดยเฉพาะ "สุโขทัย" อาณาจักรไทย ที่ครอบคลุมดินแดนตอนเหนือในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ร่องรอยแห่งความเจริญดังกล่าว นอกจากจะพบได้จากซากเมือง และวัดวาอารามต่าง ๆ รวมทั้งศิลปวัตถุอันตกทอดมาถึงปัจจุบัน
ที่สร้างขึ้นอย่างประณึตด้วยศิลปะชั้นสูงแล้ว ความยิ่งใหญ่แห่งอารยธรรมในอดีต ยังพบเห็นได้ชัดเจนมาก "พระพุทธรูปทองคำ" พระพุทธมหาสุ
วรรณปฎิมากร พระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์สมัยสุโขทัย อันเป็นมรดกแห่งอารยธรรมที่ตกทอดเป็นประจักษ์พยานถึงความเจริญรุ่งเรืองแห่งอารยธรรมของสยามประเทศ

"พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร" หรือ "หลวงพ่อทองคำ" หรือที่มีนามซึ่งปรากฎตามพระราชทินนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ ๙) ว่า "พระพุทธมหาสุวรรณปฎิมากร" ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณมหามณฑป แห่งวัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย คือ อยู่ในพระอริยาบถนั่งสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางหนือพระชานุ ปลยพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณีหน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๕ นิ้ว สูงจากฐานถึงพระเกตุเมาฬี ๗ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว น้ำหนักประมาณ ๕ ตันครึ่ง

ประวัติความเป็นมา

แต่เดิมพระรูปองค์นี้ถูกพอกปิดด้วยปูนทั่วทั้งองค์ พุทธลักษณะภายนอกไม่งดงามหรือโดดเด่น จากหลักฐานที่ปรากฎพบว่า เคยประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
วัดโชติวนารามหรือวัดพระยาไกร มาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ต่อมาวัดพระยาไกรขาดคนบูรณปฎิสังขรณ์ จึงตกอยู่ในสภาพรกร้าง ราว พ.ศ. ๒๔๗๔ บริษัท อีสต์เอเซียติก จำกัดซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานป่าไม้ ได้ขอเช่าที่จากรัฐบาล เข้าจัดสร้างโรงเลื่อยไม้ขนาดใหญ
่ในบริเวณวัดร้างแห่งนี้มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมของวัดพระยาไกรออก จนเหลือแต่พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่

ในขณะนั้น "วัดสามจีน" ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดไตรมิตรวิทยาราม กำลังอยู่ในระหว่างการบรณปฎิสังขรณ์ครั้งใหญ่ทั่วทั้งพระอาราม โดยสร้างวิหารสำหรับประดิษฐาน
พระพุทธรูปเพิ่มเติม สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เจ้าคณะแขวงล่าง เห็นว่า จะปล่อยองค์พระพุทธรูปปูนปั้นให้อยู่ที่เดิมต่อไปจะเป็นการไม่สมควร ประกอบกับวัดสามจีน มีสถานที่กว้างขวางเหมาะสมกับการประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ จึงมอบให้คณะกรรมการวัดสามจีน อันประกอบด้วยพระมหาเจียม กมโล, พระมหาไสว ฐิตวีโร (พระวิสุทธาธิบดี), น.อ.หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย). ร.น. หลวงบริบาลเวชกิจ (ยู้ วลาง กูล), นายสนิท เทวินทรภักดี ร่วมกันอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้จาก
วัดพระยาไกรมาประดิษฐานยังวัดสามจีน

พระปูนปั้น

ภาพพระพักตร์ของ หลวงพ่อสุโขทัยไตรมิตร ขณะที่ยังถูกหุ้มด้วยปูนปั้น

พระพุทธรูปทองคำ

พระพุทธรูปทองคำ ภาพในปัจจุบันที่ประดิษฐานในพระมหามณฑป

จากพระพุทธรูปปูนปั้น สู่ พระพุทธรูปทองคำ

พระพุทธรูปปูนปั้นจึงถูกอัญเชิญมาตั้งแต่นั้น โดยในขณะที่ยังบูรณปฎิสังขรณ์พระอารามไม่แล้วเสร็จ คณะกรรมการวัดได้ประดิษฐานองค์พระพุทธรูป
ไว้ข้างเจดีย์เป็นการชั่วคราวในระหว่างนี้ มีผู้มาขออัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดต่าง ๆมากมาย แต่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ การก่อสร้างพระอาราม
พระวิหารต่าง ๆในวัดสามจีน ใช้เวลาเนิ่นนาน จนล่วงเลยไปถึง ๒๐ ปี ในพุทธศักราช ๒๔๙๘ การบูรณะจึงเสร็จสิ้นเรียบร้อย

 

<<กลับหน้าแรก>>                                                         <<อ่านประวัติพระทองคำ>>

 

Free Web Hosting